บทที่4 การประกอบคอมพิวเตอร์

1.การติดตั้งซีพียู


วิธีติดตั้งซีพียู

        ในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะนำเมนบอร์ดไปยึดเข้ากับเคส เราจะเริ่มต้นติดตั้งอุปกรณ์ที่สำคัญ นั้นก็คือ cpu บน socket  ของเมนบอร์ด เพราะการติดตั้ง cpu หลังจากที่เราติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคสแล้วนั้นจะทำได้ยากเนื่องจากมีพื้นที่น้อยนอกจากนี้แล้วการติดตั้ง cpu จะต้องทำการติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคสแล้วนั้นจะทำได้ยาก เนื่องจากมีพื้นที่น้อย นอกจากนี้แหละการติดตั้งซีพียูจะต้องทำการติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดให้แน่นกระชับที่สมุด ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้เครื่องบู๊ตไม่ได้หรือต้องรีสตาร์ทบ่อยๆ

การติดตั้งซีพียู  Intel

ซีพียู  Intel จะซ็อกเก็ตแบบ LGA (ไม่มีขา) ซึ่งจะมีรอยตัดที่มุม 2 มุม เพื่อกำหนดให้สามารถวางแนวตัว apu ให้ตรงกับ socket

1.เริ่มจาก กดสลักลง ดันออกข้าง มันจะดีดขึ้นมาได้(ไม่ต้องกลัวมันดีดไม่เจ็บ) แล้วยกขึ้น ดังภาพ
2.แล้วโยกมาสุดเลยครับ เสร็จแล้ว เปิดฝาครอบขึ้นจะได้ดังภาพ

3.เปิดเรียบร้อย!!

                           

4.แล้ว วางCPUลงไปให้ลงล็อคครับ จะมีร่องอยู่ที่CPU ถ้าวางถูกต้อง จะลงไปพอดีเลยไม่มีเกยออกมา


5.เสร็จแล้ว ปิดครอบลง
6.ต่อมา กดก้านล็อคกับลงมา

!!ถ้าท่านกดก้านล็อค แล้วติดตัวครอบ ให้เช็คดูว่าCPUเกยsocketออกมาหรือไม่ครับ ถ้าCPUใส่ไม่ลงสนิทและท่านฝืนกด CPUและsocketอาจแตกเสียหายได้

7. ใส่เรียบร้อย!
8.ติดตั้งซิลิโคนครับปาดให้เรียบ

เหมือนการติดตั้งของ AMDเลย อันนี้ผมใส่ที่ตัวพัดลมครับ เพราะพื้นที่ที่ซิลิโคนได้แปะจริงๆก็เป็นวงกลมแค่บนพัดลมนั่นและ...

9.ก่อนใส่ ตรวจดูที่ขาพัดลม ปลายลูกศรจะหันออกข้างนอกครับ ไม่หันเข้าซิ้งค์นะครับ
10.สุดท้ายยย ใส่มันลงไป ใช้นิ้วเนี่ยแหละ กดลงไปดัง"กริ้ก" ก็เสร็จแล้ว ตามภาพ...
การเลือกซื้อซีพียู         
  ซีพียูเป็นหนึ่งในระบบหัวใจของการทำงาน ซีพียูเป็นอุปกรณ์หนักตัวหนึ่งที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับตัวคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่อง ขณะเดียวกันก็มีความหลากหลายของรุ่น และเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ราคาจึงมีการเปลี่ยนแปลงตาม และมีช่วงราคาสูงมาก จากราคาบางรุ่นที่จัดว่าเป็นรุ่นที่ต่ำมีราคาเพียงพันบาทเศษไปจนถึงรุ่นบนสุดมีราคากว่าหมื่นบาท บางครั้งถึงกว่าสองหมื่นบาท ดังนั้นราคาของซีพียูในปัจจุบันที่มีขาจึงขึ้นกับซีพียูที่เลือกใช้อยู่ค่อนข้างมากหากจะแบ่งซีพียูที่ใช้งานตามข้อเสนอของเนคเทคที่แบ่งซีพีระดับการใช้ในบ้าน (โฮมยูส) ระดับสำนักงาน ซีพีแบบโนตบุ๊ก ซีพีที่ใช้งานคำนวณและออกแบบทางด้านกราฟิก และพีซีที่ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ พีซีมีหลายระดับราคา แต่หากพิจาณาในเรื่องซีพียูก็พอจะแบ่งแยกตามเทคโนโลยีและผู้ผลิต และอายุของซีพียูที่ได้วางอยู่ในท้องตลาด ซีพียูรุ่นใหม่จะมีราคาแพงกว่าและมีขีดความสามารถที่สูงกว่า ดังนั้นข้อเสนอแนะหรือข้อเขียนในที่นี้จึงใช้ได้กับช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และจะปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาซีพียูที่กำลังได้รบความ นิยมและใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน (มกราคม 2002) พอแบ่งได้เป็นซีพียูมาจากสองบริษัทคือ อิเทล และเอเอ็มดีโดยทั้งสองบริษัทมีซีพียูวางจำหน่ายในขณะนี้สามระดับ หรือสามกลุ่มตามขีดความสามารถและราคา 

2.การติดตั้ง Ram
การติดตั้งแรม
การติดตั้งแรมแบ่งการติดตั้งออกตามชนิดของแรมดังนี้
1. ติดตั้ง EDO DRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระท าได้โดยการเสียบในสล๊อตตรงๆ พลาสติกตัวล๊อกจะงับขอบ ของแรมโดยอัตโนมัติหรือบางรุ่นจะต้องวางแบบตะแคงก่อน แล้วผลักให้ตรงๆ จะมีแขนพลาสติกเป็นตัวล๊อก เข้ากับช่องเล็กๆ บนแรมทั้ง 2 ข้าง
2. ติดตั้ง SDRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระท าได้โดยการเสียบในสล๊อตแบบ DIMM จะมีแขนล๊อคพลาสติกที่ ปลายทั้งสองข้างงับอยู่ เวลาติดตั้งให้ง้างทั้ง 2 ข้างออกก่อนแล้วจึงน าแรมกดลงในสล๊อตของแรมตรงๆ แขนล๊อคจะกระดกกลับมาล๊อคปลายทั้ง 2 ข้างของแรม ดังรูปที่แสดงวิธีการติดตั้งแรมลงบนเมนบอร์ด


3.การติดตั้ง Mainborad
ความยากง่ายของการประกอบเมนบอร์ดลงบนเครื่องจะขึ้นอยู่กับตัวเครื่อง (Case) ที่ใช้ คือถ้าเป็นตัวเครื่องชนิดที่สามารถถอดแท่นเครื่องออกมาได้ก็จะ ประกอบได้ง่าย มาก โดยถอดแท่นเครื่องออกมาก่อน และเมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเรียบร้อยแล้วจึงค่อยประกอบกลับเข้าไป แต่ถ้าเป็นตัวเครื่องแบบถอดไม่ได้จะประกอบค่อนข้างลำบากหน่อย แต่ก็ไม่เป็น ปัญหาอะไร
ตัวเครื่องในปัจจุบันจะมีให้เลือกมากมายหลายต่อหลายแบบซึ่งแต่ละแบบนั้นก็อาจจะถูกออกแบบมาให้มีตัวยึดหรือหลักยึดกับเมนบอร์ดที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยพื้นฐาน แล้วจะถูกออกแบบมาให้มีตำแหน่งรูใส่น็อตที่ตรงกันอยู่แล้ว และส่วนมากที่พบเห็นมักจะเป็นลักษณะของกาขันสกรู ประกอบแผงหลังเครื่อง ก่อนจะเริ่มต้นทำการติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่อง ควรจะต้องทำการเตรียมความพร้อมของตัวเครื่องเสียก่อน นั่นคือ การประกอบแผงด้านหลังเครื่อง โดยเจาะช่องของ พอร์ตต่างๆที่จำเป็นออก ซึ่งมีขั้นตอนดังรูป
ติดตั้งเมนบอร์ด
หลังจากประกอบแผ่นด้านหลังเครื่อง โดยเจาะช่องของพอร์ตต่างๆที่จำเป็นออกเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือ การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่องซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. วางเมนบอร์ดลงบนหักยึดทั้งหมดที่ได้ติดตั้งไว้ แล้วขยับให้ช่องตรงกับแท่นยึด จากนั้นเสียหมุดพลาสติกลงไป
2. กดหมุดที่เสียลงไปแล้วให้แน่น
การติดตั้งเมนบอร์ดยึดติดเข้ากับแท่นเครื่องสมัยก่อน จะใช้ขาพลาสติก ซึ่งด้านหนึ่งเป็นปลายแหลมสำหรับเสียบเข้าที่ด้านล่างของเมนบอร์ดตามตำแห่งต่างๆที่ตรงกับรูบน แท่นเครื่อง เช่น ที่มุมทั้งสี่ของเมนบอร์ด ดังรูปที่ 1 และรูปที่ 2 หรือในบางกรณีที่ถูกยึดบนแท่นเครื่องเป็นแบบหลักหกเหลี่ยมจะต้องใช้การขันสกรูเท่านั้น ดังรูปต่อไปนี้
กรณีที่เป็นหลักยึดหกเหลี่ยมจะต้องใช้ขันสกรูเท่านั้น ซึ่งการใช้สกรูก็ควรจะวางแหวนรองไว้ด้วย เพื่อเป็นฉนวนกันไฟฟ้าและป้องกันไม่ให้เมนบอร์ดเสียหายจากการขัน สกรู
ซึ่งหลักยึดนี้มักจะเป็นทองเหลืองรูปทรงกระบอกหกเหลี่ยม มีปลายสำหรับขันเข้าไปในรูที่อยู่บนแท่นเครื่อง โดยขันหลักยึดนี้ให้แน่น แล้ววางเมนบอร์ดที่เสียบขาแล้วทาบ ลงบนแท่น โดยเลื่อนให้ขาพลาสติกสามารถถอดเข้าไปในช่องได้ครบทุกขา จากนั้นจึงยึดสกรูโดยมีแหวนฉนวนรองอยู่ เพื่อไม่ให้เมนบอร์ดเลื่อนและหลุดออกมาได้ เพียงเท่านี้ก็เป็นอัน เสร็จเรียบร้อย
3. เมื่อขันสกรูยึดเมนบอร์ดให้ติดกับแท่นเครื่องแล้ว จากนั้นก็ยกแท่นเครื่องวางทาบลงไปบนตัวเคส ให้รูน็อตของแท่นเครื่องตรงกับรูน็อตของเคส จากนั้นขันสกรูยึดให้ครบทุกจุด 
ถ้าตัวเครื่องเป็นรุ่นที่สามารถถอดออกได้ก็จะประกอบได้ง่ายขึ้น โดยไขสกรูออกก่อน แต่ถ้าเป็นตัวเครื่องรุ่นเก่าจะต้องใช้สกรูแบบที่เป็นพลาสติกยึดเข้ากับเมนบอร์ด แล้วสอดลงไปในรูบนแผงสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด จากนั้นจึงเลื่อนให้ลงล็อคแล้วยึดสกรูเฉพาะช่องที่ติดตั้งขาหกเหลี่ยมเท่านั้น
4. เสียบขาพลาสติกที่ขาด้านหลังของแผงเมนบอร์ด และติดหลักสำหรับยึกแผงเมนบอร์ดกับแท่นเครื่อง โดยใช้หกเหลี่ยมขันหลักยึดให้แน่น

5. ทาบเมนบอร์ดลงบนแท่น แล้วเลื่อนให้ขาพลาสติกเข้าไปในช่องให้ครบทุกขา
ส่วนขายึดสำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆก็จะใช้แผ่นโลหะสี่เหลี่ยมเสียบเข้ากับตัวแท่นเครื่อง และใช้แท่งพลาสติกยึดจากด้านบน ทำให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น 

 4. การติดตั้งสายสวิตช์และหลอดไฟ

ชื่อมสายสัญญาณด้านหน้าเครื่อง
ในส่วนนี้จะเป็นการต่อสายสัญญาณไปยังปุ่มหรือไฟแสดงสถานะ
ด้านหน้าเครื่อง ซึ่งจะมี สายสัญญาณต่างๆดังนี้
A. Power LED
เชื่อมต่อสายสัญญาณไปยังไฟพาวเวอร์ เมื่อเปิดเครื่องไฟจะติด
 คล้ายกับการเปิดอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิคอื่นๆ
B. System Warning SpeakerLead
เชื่อมต่อไปยังลำโพงเล็กๆด้านหน้า เป็นคนละตัวกับลำโพงที่เรา
ต่อด้านหลังเครื่อง จะเป็น ลำโพงเล็กๆ ที่จะเปล่งเสียงตามสถานะ 
การทำงานของเครื่อง เช่น ถ้า เครื่องทำงานปกติจะดัง "ติ๊ด" ครั้ง
เดียว หรือถ้าการ์ดจอมีปัญหาจะดัง "ติ๊ดๆๆๆ" จำเป็นต้องต่อเพื่อ
ตรวจสอบการทำงานของเครื่อง โดยฟัง จากเสียงที่คอมพิวเตอร์
เปล่งออกมา
C. ATX Power Switch
เชื่อมต่อไปยังสวิทซ์เปิด-ปิดเครื่อง
D. Reset Switch
เชื่อมต่อไปยังสวิทซ์รีเซ็ทเครื่อง

5.การติดตั้งการ์ดแสดงผล
ติดตั้งการ์ดจอแบบ AGP
การ์ดจอที่ใช้จะเป็นแบบ AGP ใช้แรงดันไฟขนาด 1.5V การเลือก
ซื้อการ์ดจอมาใช้งาน จึงต้อง เลือกซื้อให้ถูกต้อง ถ้าเลือกซื้อการ์ด
จอ AGP ที่ใช้แรงดันไฟ 3.3V จะ ไม่สามารถใช้งานกับเมนบอร์ดนี้
ได้
1. เสียบ AGP การ์ดลงไปในสล็อต AGP สีน้ำตาล แล้วขันสกรูยึด
ให้แน่น
ติดตั้งการ์ดขยายแบบ PCI 
บนเมนบอร์ดจะมี PCI สล็อตแบบ 32-bit มาให้ 6 สล็อต ไว้ติดตั้ง
การ์ดแลน การ์ดสกัซซี่ (SCSI) การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม การ์ด 
USB ฯลฯ
1. เสียบการ์ดแบบ PCI ลงในสล็อตแบบ PCI สีขาว จะเสียบสล็อต
ใดก็ได้
2. เสร็จแล้วก็ขันสกรูยึดให้แน่น


6.การติตตั้งฮาร์ดดิสก์


การติตตั้งฮาร์ดดิสก์ [Harddisk]
หากฮาร์ดดิสก์ของคุณเสีย จำเป็นต้องถอดออก หรือว่าต้องการเปลี่ยน คุณจะต้องทราบวิธีการเปลี่ยนที่ถูกต้องก่อนสำหรับการถอดฮาร์ดดิสก์ออกนั้นทำ ได้โดยก่อนอื่นให้เปิดฝาเคสออก จากนั้นจะเป็นฮาร์ดดิสก์อยู่ภายในตัวเครื่อง ให้ถอดสายเพาเวอร์และสาย IDE ออก ต่อจากนั้นก็ขันน็อตที่ยึดตัวฮาร์ดดิสก์ออก เสร็จแล้วจึงดึงฮาร์ดดิสก์ออกมา เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนถอดฮาร์ดดิสก์ออกแล้ว
ก่อนที่จะพูดถึงการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ จะขออธิบายถึงส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ที่ควรทราบก่อน โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 
1. ช่องเสียบสาย IDE เป็นช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณจากตัวฮาร์ดดิสก์ไปหาเมนบอร์ด
2. ช่องสำหรับเซ็ตจัมเปอร์ เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับกำหนดการทำงานของฮาร์ดดิสก์
3. ช่องเสียบสายเพาเวอร์ เป็นช่องสำหรับเสียบสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้าสู่ตัวฮาร์ดดิสก์
4. ตารางเซ็ตจัมเปอร์ เป็นตารางที่บอกวิธีการเซ็ตจัมเปอร์ เพื่อกำหนดการ
5. ทำงานของฮาร์ดดิสก์ว่าต้องการกำหนดให้ทำงานเป็นแบบ Master หรือSlave โดยปกติแล้วฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะนิยมกำหนดให้เป็น Master 
การติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่ 
ก่อน อื่นให้คุณเซ็ตจัมเปอร์ให้อยู่ในตำแหน่งเป็น Master ก่อน โดยวิธีการเซ็ตให้ดูจากตารางเซ็ตจัมเปอร์ จากนั้เนให้สอดฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์แล้วขันน็อตให้ครบ ทุกตัวเพื่อลดการเคลื่อนไหวของตัวฮาร์ดดิสก์ขณะทำงาน แล้วให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ต่อสายสัญญาณ IDE ที่ช่องเสียบสาย IDE ที่ตัวฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยให้ด้านที่เป็นแถบสีแดงอยู่ตรงกับขาที่ 1 ให้คุณสังเกตจากตัวไดร์ฟซึ่งจะมีหมายเลขบอกอยู่
2. ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของสายสัญญาณ IDE ให้นำไปเสียบกับพอร์ต IDE 1เมนบอร์ด โดยให้ด้านที่มีแถบสีแดงอยู่ตรงกับขาที่ 1
3. จากนั้นให้เสียบสายเพาเวอร์ที่ช่องเสียบสายเพาเวอร์ ถ้าหากเสียบไม่ถูกก็จะเสียบไม่ได้ โดยปกติแล้วเส้นแดงของสายเพาเวอร์และของสาย IDE จะหันเข้าหากัน
4. ปิดฝาเคส โดยก่อนที่คุณจะปิดตัวเคสคุณควรทดลองเปิดเครื่องดูก่อนว่าหลังจากที่คุณติด ตั้งฮาร์ดดิสก์เข้าไปแล้วมันสามารถทำงานได้หรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติจึงค่อยปิดตัวเคส แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งฮาร์ดดิสก์แล้ว
5. สำหรับกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ที่คุณติดตั้งเข้าไปเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ยังไม่ผ่านการใช้งาน คุณจะต้องทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้

7.การติดตั้งไดรว์ CD/DVD

ติดตั้งซีดีหรือดีวีดีไดรว์
1. ให้ติดตั้งกับพอร์ต Secondary IDE การเชื่อมต่อให้สายแพร์
ด้านที่มีแถบสีแดงตรงกับขา หรือพิน1 บนเมนบอร์ดและซีดีรอม
ไดรว์ และต่อสาย Audio ระหว่างตัว ซีดีรอมไดรว์เข้ากับการ์ด
เสียง 
ด้วย เวลาเล่นเพลงจากแผ่นซีดีเพลง ก็จะมีเสียงออกทางลำโพง
2. กรณีที่ต่อซีดีรอมไดรว์มากกว่าหนึ่งตัว คือมีทั้งซีดีรอมไดรว์และ
ซีดีไรเตอร์ อาจต่อกับ สายแพร์ดังภาพตัวอย่าง ปกติถ้ามีซีดีรอม
ไดรว์ตัวเดียวให้เซ็ตค่าเป็น Slave ไม่ต้องเซ็ตเป็น Master แต่ถ้ามี
มากกว่าหนึ่งตัวต้องเซ็ตจัมเปอร์ตัวที่ต่อไว้ปลายสายเป็น Master 
และตัวที่อยู่ข้อต่อตรงกลาง ให้เซ็ตเป็น Slave
3. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้จะมีการ์ดเสียงในตัวหรือออนบอร์ดก็จะนำ
สายออดิโอมาเสียบที่ ตำแหน่ง CD (Black)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น